วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

อักษรย่อ กล้อง DSLR


EOS

นั้นย่อมาจากคำว่า Electro Optical System
(
ทั้งนี้คำว่า EOS ก็ยังเป็นชื่อเทพเจ้าของกรีกด้วย )
เป็นระบบเมาท์แบบ AF ที่ Canon ออกแบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
โดยเลือกที่จะทิ้งพื้นฐานของระบบ FD เดิม

ซึ่งการที่ Canon ต้องออกแบบเมาท์ EOS ขึ้นมานั้นเพราะว่าต้นปี 1985 Canon ออก SLR รุ่น T80 ซึ่งเป็นแบบ AF ตัวแรกสู่ท้องตลาด
ปรากฎว่า Canon ล้มเหลวทางการตลาดโดยสิ้นเชิงครับ
(
เพราะปัญหาในการใช้งาน T90 บนฐานของระบบเลนส์ FD เลยต้องกลับมาเป็น SLR แบบ Manual Focus )

Canon
พ่ายแพ้แก่ Minolta ซึ่งวางตลาดกล้องออโต้โฟกัสรุ่น A7000 ก่อน T80 แค่ 2 เดือนช่วงชิงตลาดไปเกือบหมด
ตอกย้ำด้วยรุ่น A9000 ในเดือนกันยาปี 1985

พอปีถัดมาเมษาปี 1986 Nikon ก็ออก SLR AF รุ่น F-501 ช่วงชิงตลาดกลับคืนจาก Minolta
(
ซึ่งในปี 1986 กล้อง SLR AF ครองตลาดถึง 50% แล้วแค่ปีเดียวโตพรวดพราดเลย )

จนในที่สุดเดือนมีนาคม 1987 Canon ก็ได้นำกล้องรุ่น EOS 650 และเลนส์ในไลน์ออกสู่ท้องตลาด


ปัจจุบัน กล้อง D-SLR ของแคนนอนนั้น มีขนาดเซนเซอร์รับภาพ(ฟิล์มในยุคกล้องฟิล์ม) 3 ขนาดด้วยกันครับ

1.
ฟูลเฟรม คือ กล้องที่มี ขนาดเซนเซอร์ 36 x 24 mm หรือที่มักจะเรียกว่า 35 mm.
กล้องรุ่นที่มีเซนเซอร์ลักษณะนี้ ก็คือเช่น 1Ds 1Ds MKII 1DsMKIII และ 5D
เซนเซอร์แบบนี้ มักจะทำให้ได้รายละเอียดที่สูงสุด ขนาดพิกเซลก็จะมากที่สุด (เมื่อเทียบกับขนาดเซนเซอร์แบบอื่นๆ ในระดับเทคโนโลยีเดียวกัน) จึงเหมาะกับงานที่ใช้ความละเอียดสูงๆ และ สามรถทำให้เกิดช่วงชัดตื้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับขนาดเซนเซอร์อื่นๆ (ยกเว้นพวก large medium format) เพราะใช้ทางยาวโฟกัสเดิมๆของเลนส์ไม่ถูกครอป ทำให้ถ้าต้องการจะได้ภาพขนาดเดียวกันในขณะที่ถ่ายจากจุดเดียวกั น จะต้องใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่า เซนเซอร์อีกสองแบบข้างล่าง
เช่น ถ้าใช้ 5D ถ่ายคนที่ยืนไกลจากเรา 3เมตร เราใช้ เลนส์ช่วง 160mm.
แต่ถ้าใช้ 40D หากยืน ณ จุดเดียวกัน เราก็ต้องใช้เลนส์ ช่วง 100mm.

จากหลักการแล้ว การใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากกว่า ช่วงความชัดก็จะน้อยลง หรือที่เรียกว่าชัดตื้น

กล้องฟูลเฟรมจึงเป็นที่นิยมสำหรับช่างภาพถ่ายภาพบุคคลมากที่สุด

2. APS-H size
คือกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์ประมาณ 28.7 x 18.7 mm หรือ กล้องที่โดนครอปเซนเซอร์ออกไป หรือเรียกง่ายๆว่า ตัวคูณ 1.3
กล้องรุ่นที่มีเซนเซอร์ลักษณะนี้ ก็คือเช่น 1D MKII 1D MKIIN 1DMKIII
ส่วนใหญ่จะเป็นกล้องโปรที่มีความเร็วสูงแบบ 8 -10 เฟรมต่อวินาที

จริงๆแล้วคนถ่ายภาพส่วนใหญ่ ก็มักอยากจะได้ฟูลเฟรมกันทั้งนั้น แต่การใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่ การประมวลผลก็มักจะช้าขึ้น การใช้เซนเซอร์แบบฟูลเฟรมนั้นทำให้ถ่ายช็อตต่อเนื่องได้ช้าลง เช่น 1DsMKIII ที่เพิ่งออกมาไม่กี่เดือนนี้ ก็ยังทำได้ประมาณ 4 ภาพต่อวินาที ดังนั้นกล้องในลักษณะของ APS-H size จึงได้ทั้งความเร็ว และได้ช่วงเทเลมาอีกนิด จึงเป็นที่นิยมของช่างภาพสายกีฬา

3 APS-C size
คือกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์ประมาณ 22.2 x 14.8 mm หรือ กล้องที่โดนครอปเซนเซอร์ออกไป หรือเรียกง่ายๆว่า ตัวคูณ 1.6 สำหรับแคนนอน

แต่ในยี่ห้ออื่น เช่นนิคอน จะมีเซนเซอร์ใหญ่กว่าแคนนอนนิดเดียว คือจะเป็นตัวคูณ 1.5 ครับ
กล้องรุ่นที่มีเซนเซอร์ลักษณะนี้ ก็คือกล้องที่เราเห็นทั่วๆไป เป็นมาตรฐานของ DSLR ในปัจจุบัน เช่น 300D 400D 30D 40D ครับ


CANON EF 70-200 mm. f/4L IS USM 

EF -- Electronic Focusing
ระบบหาโฟกัสด้วยกระแสไฟฟ้า หรือ ที่ยี่ห้ออื่นๆ เรียกว่า AF ครับ มันเป็นเรื่อง จดลิขสิทธิ์ชื่อระบบ ครับ

สมัยนี้ จะมีกล้องดิจิตอล พิเศษ ที่มี Cmos เล็กกว่าขนาดฟิล์ม มีผลทำให้กล้อง มีพื้นที่รับแสง เล็กกว่าฟิล์ม 135 ในอดีต ประมาณ 1.5 เท่า 1.6 เท่า 1.3 เท่า ซึ่ง นิยมเรียกกันว่า APS Size  ซึ่ง เป็นฟอร์แมทฟิล์ม 110 ในอดีต แต่ด้วยระบบนี้ มี ความสามารถ ถ่ายภาพ ได้ขนาด ต่างกันถึง 3 แบบ เลยทำให้มี การกำหนด ว่า C-APS หรือ H-APS เป็นต้น เลยมีผลให้ภาพมุมกว้าง ตามปกติ เมื่อเอามาใส่กับกล้องแบบนี้ ภาพที่ได้จะแคบลง เหมือนเราครอปภาพตรงกลางออกมา Crop factor ทำให้เลนส์มุมกว้างไม่กว้างต่อไป ครั้นจะผลิตเลนส์ กว้างแบบ Ultra wide ออกมา โดยเป็นเลนส์ปกติ ราคาก็คงจะแพงมาก ๆ และจะต้องแก้ความคลาดเคลื่อนต่างๆ  มากมาย เพราะยิ่งกว้างมาก ยิ่งแก้ยากครับ เขาเลย ทำการจำลองเลนส์ กว้างพิเศษ โดยเอามาช่วง ตรงกลาง ๆ ให้มีพื้นที่พอลงใน Cmos ที่มีพื้นที่เล็กกว่าฟิล์มแทน ทำให้ตัดพื้นที่เลนส์ ด้านข้างที่โค้งมาก ๆ ออกไป และการแก้ไข ด้านข้างก็ง่ายลง ใช้ชิ้นเลนส์เล็กลง แต่มันจะใส่ได้กับกล้องที่มีพื้นที่ Cnos แบบนี้เท่านั้น พอเอาไปใส่ กะ กล้อง ทั่วไป ที่มีพื้นที่รับแสง แบบ Full Frame จะเกิด ขอบภาพมืดเป็นวงรอบ เพราะพื้นที่แสงลงไปไม่ครอบคลุมนั่นเอง

และนี่คือ เหตุผล ว่าทำไม ไม่มี เลนส์ EF-S ที่เป็นเกรดโปร เลย
70-200 --
คือ ตัวเลข บอกความยาวโฟกัสของเลนส์ ตัวนั้น ถ้ามี 2 ค่าแบบนี้ แสดงว่า เลื่อนจาก 70 มม. ไป 200 มม.  ได้ครับ
mm. --
ก็หน่วยความยาวโฟกัสไง เป็น มิลลิเมตรครับ

f/4 --
คือค่า f-stop หรือ ค่าความกว้าง ของลำแสงที่เข้ามาในเลนส์ได้มากที่สุดนะครับหรือ รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์นั้น  อันนี้ไม่มีหน่วย นะ อย่าสับสนกะ stop เฉย ๆ 

ในกรณี ที่เลนส์ มี หลายระยะ เช่น 17-40 หรือ 70-200 แต่เขียน ค่า f/ ค่าเดียว แสดงว่า ไม่ว่าจะซูมยังไง ค่าแสงที่เข้ากระบอกเลนส์จะเท่าเดิม มีผลให้กล้องโชว์รูรับแสงกว้างสุดเท่าเดิม
แต่ถ้าที่เลนส์มีว่า 70-200 f/4-5.6 ถ้าแบบนี้ เลนส์ เมื่อซูม ที่ระยะ 70 มม รูรับแสงจะโขว์กว้างสุดที่ f/4  เมื่อเราซูมเลนส์ ไปที่ 200 มม จะเกิดการเสียแสง ในกระบอกเพราะมันมักจะยื่นยาวออกมา ทำให้กล้องแสดงรูรับแสงกว้างสุด ที่ f/5.6 นั่นเอง ครับ


L -- Luxury
ครับ แปลว่า เลิศหรู อันนี้เป็น ตัวย่อ ชื่ออนุกรมของเลนส์ ในหมวดเลนส์ เกรดโปร ที่มีการเลือกใช้วัสดี ทั้งกระบอดเลนส์ เมาท์ ชิ้นเลนส์ และความปราณีต อย่างดีเยี่ยมครับ เราเลยเรียกมันว่า เลนส์เกรดโปร คือ คุณภาพดี ไม่ใช่เลนส์ ที่ซื้อมาแล้ว จะเป็นโปรนะครับ คนเรื่องกัน

IS -- Image Strabilizer
เป็นระบบ ป้องกันภาพ สั่นสะเทือนครับ นิคอน เรียก VR --Vibrating Reduction แปลตรง ๆ ว่า ลดความสั่นสะเทือนนั่นเอง อันนี้แล้วแต่ชื่อทางการค้าครับ

USM -- Ultra Sonic Motor
เป็นชื่อระบบ ขับเคลื่อนชิ้นเลนส์ ด้วยมอเตอร์ ที่มีความเงียบสูง และความเร็วมากพิเศษ ปกติ เลนส์ ธรรมดา จะโฟกัสช้า และมีเสียงดังครับ เพราะอาศัยแกนมอเตอร์จากตัวกล้อง มาขับเคลื่อนเลนส์ ทำให้ใช้ไฟมาก เสียงดัง และโฟกัสช้ากว่า แบบมี มอเตอร์ในตัวนะครับ

USM 
มี 2 แบบ คือ Micro USM เป็นมอเตอร์ เล็ก ๆ ในเลนส์ ทั่วไป รับสัญญาณไฟฟ้าที่ต่ำจากกล้อง แล้วทำการขับเคลื่อนชิ้นเลนส์ ขนาดเล็ก ให้โฟกัส และ แบบ Ring USM เป็นมอเตอร์ แบบวงแหวน จับชิ้นเลนส์ ให้เคลื่อนที่ ด้วยความเร็วสูง และลดความเสียดทาน ใช้กัน ชิ้นเลนส์ใหญ่ ๆ ที่มีน้ำหนักชิ้นเลนส์ สูงๆ  เช่น เลนส์ เทเล ทั่งหลายครับ

ถ้าเป็น นิคอน เรียกว่า AF-S  -- Auto Focus by Silent Wave คือ ระบบมอเตอร์ในเลนส์ ที่มีความเร็วสูง และมีเสียงเงียบมากครับ เป็นชื่อทางการค้า

ถ้า เป็น เลนส์ Sigma เรียกว่า HSM -- Hyper Sonic Motor ครับ

โดนเลนส์ แบบที่ผลิตมาฉะเพราะนี้ แคนนอนใช้ รหัส ว่า EF-S ครับ
ถ้านิคอน เรียกว่า DX ครับ



ในกรณีต่อไป ดูคู่มือ เลนส์ หรือ แคตตาล็อกการถ่ายภาพ จะมี สัญลักษณ์ต่างๆ  ที่มี ตัวย่อว่า

LD (Low Dispersion)
ของ Tamron หรือ ED (Extra Low Dispersion) ของ นิคอน เป็นชิ้นเลนส์สังเคราะห์ ใส่เพื่อลดปรากฎการณ์ Dispertion ความคลาดเคลื่อนสี เนื่องจากเลนส์เทเล ที่มีระยะมาก ๆ มักจะมีความสูญเสียแสง เพราะกระบอกเลนส์จะยาวมาก ทำให้แสงที่เข้ามาฟุ้ง เกิดการตกกระทบ ของสเปคตรัมแสง ไม่ตรงกัน ทำให้ภาพออกมา มีขอบม่วงๆ  เหลื่อม ๆ ไม่คมชัด

ในแคนนอนจะใช้ UD (Ultra-low Dispersion) แทนครับ สำหรับเพิ่มความคมชัด คอนทราสต์ และสีสันที่ดีเยี่ยม

ส่วน APO เป็นชิ้นเลนส์ ลดความคลาดเคลื่อนสี ของ Sigma กับ Minolta ครับ 

ASP -- Aspherical
อันนี้ เป็น เลนส์ ที่มี การลดความ Spherical Distrotion หรือ ความคลาดเคลื่อนทรงกลม อันเกิดมาจากการผลิตเลนส์มุมกว้าง ที่มีค่า ความยาวโฟกัสสั้น จะมี ความนูนของหน้าเลนส์ มากกว่าปกตินั่นเองชิ้นนี้จะเข้าไป ประกบ และแก้ไขลำแสง ให้ภาพที่คมชัดและสีสันที่ดีขึ้นครับ


ใครไม่เคยสังเกต ลองไปหยิบมาดู เลนส์ ยิ่งกว้างมาก ยิ่งหน้าเลนส์ ปูดกลมมาก ถ้าเทลเล จะปูดน้อยมาก ครับ อ้อ เอาฟิลเตอร์ หน้าเลนส์ ออกก่อนะครับ อิ อิ

ซึ่งพอเอาชิ้นเลนส์ปูด ๆ นี้มาใช้ ก่อเกิดปัญหาว่า ภาพที่ได้ จะโค้งงอ บิดเบี้ยว เป็นทรงกลม แบบเลนส์ fish eye นั่นเอง มากน้อยตามขนาดเลนส์ ซึ่ง มีผลให้ ที่ขอบ ๆ ภาพ จะยืดเบลอออก มากกว่าตรงกลาง ซึ่งมีความลาดชันน้อยกว่า

พอเมื่อเอาใส่ไปแล้ว ก็จะได้ว่า ภาพนั้น จะบิดเบี้ยว ลดลง และคุณภาพคมชัดมากทั่วทั้งภาพ ซึ่งจะออกแบบมารับกับความโค้งงอนั่นเอง อีกทั้งเวลาถ่ายเสา ตึก หรือ ขื่อบ้านจะไม่โค้งงอแบบฟิชอาย นั่นเอง

IF -- Internal Focus
เป็นระบบ โฟกัส ภาพใน กระบอกเลนส์ กล่าวคือ เวลาหาระยะโฟกัส แบบทั่วไป เลนส์ชิ้นหน้าสุด จะมีระยะเพิ่มลด จากเลนส์ชิ้นท้าย และภาพจะชัดเมื่อระยะวัตถุ มีค่าตรงกับ กับระยะโฟกัส นั่นเอง มีผลทำให้หน้าเลนส์ มันจะยืดหด เข้าๆ ออก ๆ ถ้าเลนส์นั้น ออกแบบกลไกในกระบอก ไม่ดีพอ จะมีผลให้ มันหมุนตามลักษณะการหาโฟกัส ที่หมุนกระบอกโฟกัส ทำให้ไม่สะดวกเวลาใช้ ฟิลเตอร์ บางอย่างเช่น PL เป็นต้น

เขาเลยทำการออกแบบระบบกลไก กระบอกที่ซับซ้อน โดย ใช้ชุดเลนส์ ที่มีการวิ่งพร้อมๆ  กัน ในกระบอก เพื่อจัดวางใหม่ ให้หาความคมชัด โดยมีระยะห่าง ของชุดเลนส์ทั้งหมด น้อยที่สุด หรือ เท่าๆ  กันเวลาปรับ ความยาวโฟกัส หรือ ปรับ ซูมนั่นเอง  อีกทั้งก็หาโฟกัสโดย กระบอกเลนส์ ไม่หมุน ด้วยชุดกลไล ที่ว่า ทำให้ รูปทรงของกระบอก ไม่ยื่นออกมา ไม่มีผล ต่อระยะกับวัตถุที่ถ่ายใกล้ ๆ หรือ ไม่ต้องหมุนฟิลเตอร์ใหม่ ทุกครั้ง

ทำให้สะดวกและใช้งานง่าย แต่ถ้าเราเปิดฝาเลนส์ดู  แล้วซูมเลนส์ จะเห็นว่า ชิ้นหน้า นิ่งอยู่ แต่ชิ้นหลังตรงเมาท์ กำลัง ยื่นเข้าออกแทน อิ อิ

เพิ่มเติมข้อมูลเรื่อง ASP และ ED

Aspherical Lens -- ASP

ใช้แก้ปัญหาเรื่องอาการคลาดทรงกลม (Spherical aberration)
คืออาการที่ จุดโฟกัส คลาดเคลื่อน อันเนื่องมาจากทรงกลมของชิ้นเลนส์
ทำให้แสงที่ผ่านขอบเลนส์ กับกลางเลนส์ ตกที่จุดโฟกัสคนละตำแหน่ง

------------------------------------------------------

LD/ED

ใช้แก้อาการคลาดสี (Chromatic aberration)
คืออาการที่เลนส์ทำหน้าที่เหมือนปริซึม แยกสีแต่ละความถี่ออกจากกัน
เพราะแสงแต่ละความถี่ (ความยาวคลื่น, สี) หักเหได้ไม่เท่ากัน เมื่อผ่านชิ้นเลนส์
ทำให้แต่ละสี ตกที่จุดโฟกัสคนละตำแหน่งกัน

http://en.wikipedia.org/wiki/Chromatic_aberration



มาดูตัวย่ออื่น ๆ ของแคนนอนกันบ้าง

TS-E 
มาจาก 

TS -- Tilt and Shift 
E -- Eliminating
คร้าบบบ

เป็นอนุกรมเลนส์ ที่มี ความสามารถพิเศษ สามารถ ทำการปรับให้ปากกระบอกเลนส์ ที่มีชิ้นเลนส์นั้น ตะแคงซ้ายขวา หรือ กระดกขึ้นลงได้ และเลื่อนย้ายกระบอกเลนส์ ได้ด้วยครับ นั่นเอง
และรุ่นนี้ ยังเป็นรุ่น โฟกัสมือเท่านั้นครับ

Tilt
คือ การที่เลนส์ ที่มีความสามารถกระดก หรือ ตะแคงหน้าเลนส์ ไปมาได้ โดยที่กล้อง ตั้งอยู่ที่เดิม เพื่อแก้ความผิดเพี้ยน Perspective  หรือ ที่เรามักเห็นว่า เวลายกกล้องถ่ายมุมเลย ตึกจะมีอาการ ฐานโต ยอดตึกเล็กสอบลงไป นั่นเอง โดยเมื่อหมุนวงแหวนให้เลนส์ นั้นกระดกตามมุมที่ควรเป็นแล้ว ภาพที่ได้ ตึกจะตั้งตรง ไม่มีอาการผิดสัดส่วน ครับ
Shift
คือ เลนส์ที่มี ความสามารถ ปรับ ให้กล้องอยู่กับที่ แต่เลนส์ ทั้งตัว เลื่อนออกด้านข้าง โดยหน้าเลนส์ ยังตรงๆ  อยู่ นะครับ

ถ้านึกภาพ ไม่ออก

http://www.the-digital-picture.com/Reviews/Canon-TS-E-24mm-f-3.5-L-Tilt-Shift-Lens-Review.aspx

สำหรับเลนส์ Nikon  ที่มีความสามารถ แบบ TS-E เรียกตัวย่อ ว่า

เลนส์ PC  นะครับ มาจาก Perspective Control ไม่ใช่

Personal Computer
นะครับ อิ อิ

MP-E  -- Macro Photography Eliminating
เป็นเลนส์ ที่ออกแบบมาพิเศษ ให้มีความสามารถในการถ่ายภาพ มาโครโดยเฉพาะ มีกำลังขยายเทียบเท่ากับการใช้ เบลโล่ หรือ อุปกรณ์ เสริมขยายกำลัง โดยมันจะมีกำลังขยายมากถึง 1-5 เท่า ของวัตถุ เลย ถ้าจะง่ายหน่อย ก็ อัตราส่วน 5:1 ครับแต่รุ่นนี้เป็น โฟกัสมือเช่นกันนะครับ

DO -- 'Multi-Layer Diffractive Optical Element'
เป็นชื่อย่อ ของการออกแบบชิ้นเลนส์ พิเศษ โดยการเพิ่มความถี่ในชุดชิ้นเลนส์นี้  โดยอิงทฤษฎี เลนส์ความถี่สูง แบบ Fresnel Lens ที่ใช้ส่องไฟในประภาคาร ทำให้การเดินทางของแสงในกระบอกเลนส์นั้น สั้นลง เพราะมีกำลัง ขยายแสงสูงมากขึ้น มีผลทำให้ ระยะจากเลนส์ใกล้ตา กับ เลนส์ใกล้วัตถุ สั้นลง ทำให้ เลนส์เทเล มีความยาวกระบอกลดลงด้วย โดน แคนนอน บอกว่า คอนทราสต์และสีสันยังดีเยี่ยม แต่ในความเป็นจริง นั้น การที่ทำให้แสงเดินทางสั้นลง แล้วคุณภาภาพยังดี อยู่ ยากมากกว่าแบบปกติครับ

---------------------------------------------------



ส่วนเรื่องทางยาวโฟกัส นั้น มีหลัก จากการอิงสายตรเรา และองจากระบบฟิล์ม 135 นะครับ เพราะถ้าเป็นฟิล์ม 120 หรือ 110 จะมี ระยะ ที่เทียบเท่า ต่างออกไป ครับ เช่น เลนส์ 50 มม. กับระบบฟิล์ม 135 คือ เลนส์ นอร์มอล แต่พอเป็นเลนส์ ในระบบฟิล์ม 120 กลาย เป็นเลนส์ มุมกว้าง เทียบเท่าเลนส์ 24 มม. แทน เออ งงมั้ย

ฉะนั้น เราจะเอา ระบบ 135 มาคุยกันนะครับ อย่าสับสน

ถ้าปกติ แล้ว เลนส์ มี 3 ช่วง ครับ

1.
ช่วงนอร์มอล จะเป็น ช่วงประมาณ 45 - 55 มม ค่ากลาง คือ 50  มม นั่นเอง เป็นเลนส์ ที่มีมุมมอง องศาการรับภาพ ที่ใกล้เคียงสายตาเรา ประมาณ 45 องศา ครับ

2.
ช่วง มุมกว้าง --wide เป็นเลนส์ ที่มี ค่าต่ำกว่าค่ากลาง ลงมา เริ่มที่ 40 มม ลงไป ยิ่ง ค่า ความยาวโฟกัสลดลงมากเท่าไร ภาพที่ได้ องศาจะกว้างมากขึ้น มีผลให้ภาพ ที่กว้างแปลกตา และมี ความโค้งงอมาก ยกเว้นมีชิ้นเลนส์แก้ไขแล้ว มีผลทำให้เกิดภาพแปลกตาคือ วัตถุที่อยู่ใกล้ เลนส์ จะใหญ่มาก และวัตถุที่ไกลออกไป จะดูไกลมากกว่าปกติ

3.
ช่วง มุมแคบ -- Tele เป็นเลนส์ ที่มี ค่าสูงกว่าค่ากลาง ขึ้นไป เริ่มที่ 60 มม ขึ้นไป ยิ่ง ค่า ความยาวโฟกัสเพิ่มมากเท่าไร ภาพที่ได้ องศาจะแคบมากขึ้น มีผลให้ภาพ มีขนาดใหญ่ จนดูใกล้ตามากขึ้น และมี ความแบนมากขึ้น  มีผลทำให้เกิดภาพแปลกตาคือ วัตถุที่อยู่ไกล เลนส์จะเห็นใหญ่มาก และจะดูใกล้กล้องมากกว่าปกติ เช่นเดียวกะกล้องส่องทางไกล และวัตถุ ที่อยู่เบื้องหลัง จะมี ขนาดใหญ่โตมากขึ้น

ผมมี ทริคในการ คำนวณกำลัง ขยายภาพ ของเลนส์ เทเล มาให้นะครับ

 
ทางยาวโฟกัส เลนส์ เทเล / ทางยาวโฟกัส เลนส์นอร์มอล = กำลัง ขยาย (เท่า)

เช่น เรามี เลนส์ 300 มม. เมื่อเทียบ กับ เลนส์ 50 มม. แล้ว จะมี กำลังขยายใหญ่กว่าตาเห็น 6 เท่าครับ

ฉะนั้นในทางกลับกัน กล้องดูนก ดูดาว จะมี ค่าที่กระบอกบอกเอาไว้ว่า มันมีกำลังขยายเท่าไร เช่น ส่วนมอง กล้องสองตา จะมี 10X

ก็จะเทียบเท่า เลนส์ 500 มม ครับ

ในกรณี ที่เราซื้อเลนส์ EF-S ต้องเอาค่าความยาวโฟกัส ที่เลนส์ มาคูณ กับ อัตราส่วนในการ ครอปภาพของ Cmos ในกล้อง ตัวนั้น ๆ เช่น 1.6 ของแคนนอน จึงจะได้ ค่า ความยาวจริง ๆ  ของมุมภาพที่ได้ ครับ

ในขณะเดียวกัน ที่เราเอาเลนส์ EF ทั่วไป มาใส่กะกล้อง ที่มีพื้นที่ รับภาพเล็กกว่าปกติ หรือกล้องที่มีตัวคูณนั่นเอง เราจะต้องเอาค่าความยาวเลนส์นั้น คูณด้วย สัดส่วนการรับภาพ ของกล้อง เช่นกัน ครับ





เป็นยังไงบ้างครับ งง กันมั้ยเอ่ย ถือว่าเป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อยๆ  ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับอุปกรณ์ ถ่ายภาพที่เรามีนะครับ



คราวนี้ ขอลาไปก่อนนะครับ ขอบคุณมากครับ



บทความ โดย วรชาติ สดศรี
คำย่อของ Nikkor lensesเท่าที่มีเอกสารอยู่ เผื่อไว้เป็นข้อมูล บางครั้งมีสมาชิกถามแต่นึกไม่ออก...;)

ED = Extralow Dispersion.
SIC = Super Integrated Coating.
ASP = Aspherical lens elements.
CRC = Close-Range Correction.
IF = Internal Focusing.
RF = Rear Focusing.
DC = Defocus-image Control.
D = Distance information.
AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor.
M/A = Manual/Auto
VR = Vibration Reduction.
PC = Perspective Control.

มาย
8th July 2003, 12:53
ตัวย่อมากมาย รู้จักอยู่แค่ไม่กี่ตัวเองอ่ะ :eek:

YoT
8th July 2003, 13:31
อ่า เอ๊กกกกกก ครายก็ด้ายช่วยแปล เป็ง ไท เลี้ยว ก้อ อะ ธิ บาย ที เด้อ

YoT

jessada
8th July 2003, 19:38
คุณ Plub ครับ IF ก่ะ RF ต่างกันยังงัยเหรอครับ?

HotDuckZ
9th July 2003, 01:55
IF กะ RF นี่ถ้าเข้าใจไม่ผิดหน้าเลนส์ไม่หมุนเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่ชุดเลนส์ที่เป็นตัวโฟกัสใช่ป่าวคับ ครือ IF จะอยู่ข้างใน แต่ RF จะอยู่ด้านท้าย

อิอิ แต่ผมสงสัยอยู่อย่างอ่ะ ว่าเลนส์
PC นี่มีขายที่ไหน ม่ายเคยเห็นเลย ท่าทางจะแพง :banana:

เลนส์ IFสามารถโฟกัส โดยที่หน้าเลนส์ไม่เปลี่ยนขนาด หรือไม่หมุนนั่นเอง การโฟกัสทำโดยการเลื่อนชิ้นเลนส์ภายในกระบอกเลนส์ ทำให้ได้เลนส์ที่มีขนาดกระทัดรัด และน้ำหนักเบา และยังสามารถโฟกัสได้ในระยะใกล้ อีกอย่างหนึ่งที่นอกจากเลนส์มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบาแล้ว ยังสามารถโฟกัสได้เร็ว เนื่องจากขนาด และน้ำหนักนั่นเอง

เลนส์
RF คือกลุ่มเลนส์ที่ใช้ปรับโฟกัสซึ่งอยู่ด้านท้ายของเลนส์ มีผลทำให้ระบบออโตเมติกโฟกัส ทำงานได้ดี และรวดเร็ว...;)



ED = Extralow Dispersion.
ชิ้นเลนส์ความเพี้ยนต่ำ ใช้มากกับเลนส์
tele

SIC = Super Integrated Coating.
ชื่อทางการค้าของการโค๊ทเลนส์

ASP = Aspherical lens elements.
ชิ้นเลนส์แอสเพอริคัล

CRC = Close-Range Correction.
อันนี้ไม่ทราบครับ

IF = Internal Focusing.
ชุดโฟกัสหมุนภายในกระบอกเลนส์ หน้าเลนส์จะไม่หมุนไปมา และไม่มีการยืดหดของหน้าเลนส์ เหมาะสำหรับใช้กับฟิลเตอร์
CPL

RF = Rear Focusing.
ชุดโฟกัสอยู่ที่กลุ่มเลนส์ชิ้นหลัง โฟกัสไวมาก

DC = Defocus-image Control.
ทำภาพนุ่มนวล มีเลนส์ 135
mm DC ตัวเดียวมั้งที่ทำ

D = Distance information.
เลนส์จะมีชิปไว้ส่งข้อมูลคุยกับกล้อง เพื่อควบคุมระบบวัดแสง 3
d อีกทีด้วย

AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor.
ไม่ทราบครับ

M/A = Manual/Auto
สวิตซ์ปรับแมนนวลโฟกัสและออโต้โฟกัส

VR = Vibration Reduction.
เลนส์กันสั่น

PC = Perspective Control.
เลนส์ที่สามารถแก้ไขทัศนมิติได้

nutnano
3rd May 2008, 22:57
AF-S = Autofocusing with Silent Wave Motor.
เลนส์
Auto Focus มีมอเตอร์ในตัวครับ

nCode
4th May 2008, 07:45
อยากรู้ที่มาของ G, DX, FX ว่า Nikon เอาตัวย่อมาจากคำว่าอะไรครับ

xxxTONYxxx

อยากรู้ที่มาของ G, DX, FX ว่า Nikon เอาตัวย่อมาจากคำว่าอะไรครับ


อยากรู้เหมือนกันครับ จะมีใครมาอธิบายมั๊ยเนี่ย

ปกร. = ประกันร้าน
ปกศ. = ประกันศูนย์
หนอน =
canon
นิกร =
Nikon
โอลี่ =
Olympus
แป้นแตก =
Pentax
ซิกฝ้า =
Sigma
ทำหล่น =
Tamron
อย่าซิคะ =
Yashica
PS = Photoshop
HDR = hyper dynamic range
HBD = happy birthday
USM = ultrasonic motor
USM = unsharp mark
มตพ.=
multiply
DOF = Depth of field
ATM = เอาไว้ใช้เวลาจะซื้อกล้อง
VR = กันสั่นของนิกร
IS = กันสั่นของหนอน
L = หนอนไฮโซ (เลนส์เกรดหรูหรา Luxury)
Mount = ข้อต่อเลนส์กับกล้อง
f-number หรือ f = ค่ารูรับแสง
s = shutter speed
ISO = ค่าความไวแสง
FHM = อันนี้ซื้อทุกฉบับ
Focusing screen = ฉากรับภาพ
กระจกสะท้อนภาพ = เอาไว้สะท้อนภาพจากเลนส์ไปยัง
Focusing screen
Prism = หัวกะโหลก = เป็นยอดแหลมอยู่บนตัวกล้อง SLR เอาไว้สะท้อนภาพจาก Focusing screen ไปยังช่องมองภาพ
Hot shoe = ที่เอาไว้เสียบแฟลช อยู่บนตัวกล้อง ปกติจะอยู่บนหัวกะโหลก
FF = Full Frame = เซ็นเซอร์รับภาพ ที่มีขนาดเท่ากล้องฟิล์ม 35มม. (24x36มม.)
Fillter = แผ่นสำหรับใส่หน้าเลนส์ (ใส่หลังเลนส์ก็มี) เพื่อ.

Canon
EF = Electro-Focus คือเลนส์ที่ใช้กับกล้องฟิลม์ หรือ Full frame แต่ก็ใส่กับดิจิตอลได้
EF-S = คือเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อกล้องดิจิตอล (เอามาใส่ Full frame ก็ได้แต่จะเป็นขอบดำช่วงวายด์)
TS-E = TILT-SHIFT Lens คือเลนส์ที่สามารถปรับ Perspective ได้
L = Luxury คือหรัสเลนส์เกรดโปรของ Canon
DO = Diffractive Optical element เป็นชิ้นเลนส์เพื่อแก้อาการคลาดเคลื่อนสี (อันนี้ไม่แน่ใจ)
IS = Image Stabilizer กันสั่น
USM = Ultrasonic Motor มอเตออัลตราโซนิคความเร็วสูง (ซึ่งแต่ละตัวก็จะใช้มอเตอร์ที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่ว่ารุ่นไหน เกรดโปร หรือเกรดธรรมดา)
MACRO = ถ่ายมาโคร เลนส์ถ่ายภาพระยะใกล้

Nikon
AF = Autofocus คือเลนส์ที่ใช้กับกล้องฟิลม์ หรือ Full frame แต่ก็ใส่กับดิจิตอลได้
AF-S = Autofocus Silent Wave Motor มอเตอร์ความเร็วสูงในเลนส์ เหมือนกับ USM ของ Canon
FX = Full Frame (36mm x 24 mm)
DX = DX Nikkor คือเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อกล้องดิจิตอล (เอามาใส่ Full frame ก็ได้แต่จะเป็นขอบดำช่วงวายด์)
VR = Vibration Reduction กันสั่นได้ถึง 3 Stops
VR II = Vibration Reduction กันสั่นได้ถึง 4 Stops
D = D-Type คือเลนส์ที่มีวงแหวนปรับรูรับแสงที่ท้ายเลนส์ สามารถใช้กับกล้องแมนนวล รุ่นเก่าๆได้
G = G-Type คือเลนส์ที่ไม่มีวงแหวนปรับรูรับแสงที่ท้ายเลนส์
ED = Extra-low Dispersion ชิ้นเลนส์เพื่อแก้ความคลาดเคลื่อนสี จะมีอยู่หลายชิ้นในเลนส์เกรดโปร
IF-ED = Internal Focusing Extra-low Dispersion IF คือเลนส์ที่มีระบบโฟกัสอยู่ภายใน หน้าเลนส์ไม่หมุนเวลาโฟกัส ส่วน ED ก็เหมือนข้างบน แค่เค้าเอามาเขียนให้ติดกันเฉยๆ
MICRO = ถ่ายมาโคร เลนส์มาโครของ Nikon แต่เขียนให้ต่างกว่าค่ายอื่น ซึ่ง MICRO หมายความว่า เล็กๆ จิ๋วๆ
NANO = Nano Crystal Coat เป็นการเคลือบผิวเลนส์แบบใหม่ ป้องกันแสงสะท้อนในตัวเลนส์ได้ดีกว่า ช่วยลดแสงที่ไม่พึงประสงค์เช่น flare และ ghost ได้ดีกว่า

SIGMA
EX = EX Lens เป็นรหัสเลนส์เกรดโปรของ Sigma
APO = APO Lens เป็นชิ้นเลนส์แก้ความคลาดเคลื่อนสี
DC = DC Lens คือเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อกล้องดิจิตอล (เอามาใส่ Full frame ก็ได้แต่จะเป็นขอบดำช่วงวายด์)
DG = DG Lens คือเลนส์ที่ใช้กับกล้องฟิลม์ หรือ Full frame แต่ก็ใส่กับดิจิตอลได้
OS = Optical Stabilizer กันสั่น
IF = Inner Focus คือเลนส์ที่มีระบบโฟกัสอยู่ภายใน หน้าเลนส์ไม่หมุนเวลาโฟกัส
HSM = Hyper-Sonic Motor มอเตอร์ความเร็วสูงในเลนส์ เหมือนกับ USM ของ Canon และ AF-S ของ Nikon

สุดท้ายเป็นรหัสบนเลนส์ของ
Tamron ครับ
Di = เลนส์ที่ออกแบบมาให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น
Di II = เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลเท่านั้น ใช้กับกล้องฟิล์มไม่ได้
XR = Extra Refractive Index Lens เป็นชิ้นเลนส์พิเศษ
LD = Low Dispersion เลนส์ความคลาดแสงต่ำ
SP = เลนส์เกรดโปรของแทมร่อน
VC = หรือชื่อเต็มๆ Vibration Compensation เป็นระบบกันสั่นของ Tamron ครับ


สุดท้ายเป็นรหัสบนเลนส์ของ Tamron ครับ
Di = เลนส์ที่ออกแบบมาให้เข้ากับกล้องดิจิตอลดีขึ้น
Di II = เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลเท่านั้น ใช้กับกล้องฟิล์มไม่ได้


อักษรย่อในเลนซ์รุ่นเก่า S P H Q

NIkkor P 135/f3.5 = 5 elements

Nikkor H 50/f2 = 6 elements

NIkkor S 50/ f1.4 = 7 elements

Nikkor Q 28/f2 = 8 elements

P H S Q นี้จะเห็นที่ขอบแหวนหน้าเลนซ์รุ่นเก่า